หน่วยการเรียนรู้ที่ 4


จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยา
        จิตวิทยา เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการศึกษาพฤติกรรม และการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ โดยศึกษาว่าพฤติกรรมนั้นเกิดจากเหตุใด และจะสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า เพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ก่อนที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนสามารถกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการ ในสถานการณ์ที่เหมาะสมได้ การทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์นี้ นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้บุคคลสามารถ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้ เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพได้
        การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้

1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว

2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส

3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น

4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น

 การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ

1. การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา จมูก ลิ้น กาย

2. การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้

 สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยาดังนี้

1.การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning)เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ

1.1. มีแรงจูงใจ

1.2. มีประสบการณ์เดิม

1.3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้

2.หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin)ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal)เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น

 จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology)

วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี

 จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้

จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ

-ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก

-ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง

-ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรม ( Behavior)

 จิตวิทยากับการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน

 ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน

1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์

2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ

3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน

4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

 จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน

ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน

ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

 หลักการสำคัญ

1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน

3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่

4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน

- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน

- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน

- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

- ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน

- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม

- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น